มาทำความเข้าใจก่อนครับ
1. สถานประกอบธุรกิจ ตาม พรบ. การบัญชี พศ. 2543 ในมาตรา 13 สรุปคำนิยามของคำว่า สถานประกอบธุรกิจ ได้ดังนี้คือ
1.1 สถานที่ทำการ
1.2 สถานที่ผลิตสินค้า หรือเก็บสินค้าเป็นประจำ
1.3 สถานที่ใช้ทำงานเป็นประจำ
1.4 สถานที่ในราชอาณาจักรที่ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดทำบัญชีไปยังสถานที่ตาม 1.1 - 1.3 แล้ว
www.dbd.go.th/thai/law/prb2543.phtml">
http://www.dbd.go.th/thai/law/prb2543.phtml2. ส่วน " สถานประกอบการ " ตามคำนิยามทางภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1 (20) ให้ความหมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบการ ใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึง สถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย
ในกรณีผู้ประกอบการไม่มีสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการนั้นเป็นสถานประกอบการ ถ้าผู้ประกอบการมีที่อยู่อาศัยหลายแห่งให้ผู้ประกอบการเลือกเอาที่อยู่อาศัยแห่งหนึ่งเป็นสถานประกอบการ
www.rd.go.th/publish/5205.0.html#mata77_1">
http://www.rd.go.th/publish/5205.0.html#mata77_1เมื่อเราเข้าใจถึงคำนิยามของสถานประกอบการแล้ว ก็มาดูต่อครับว่า ตกลงแล้วกิจการเราประกอบธุรกิจใดเป็นหลัก เพราะตามความเห็นส่วนตัว ผมมองว่า หากธุรกิจของคุณเด็กเพิ่งจบ ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก ผมก็มองว่าในกรณีนี้ อาคารถือเป็นสถานประกอบการครับ เมื่อมีสถานประกอบการเพิ่ม ก็จะต้องจดเป็นสาขาครับ ทั้งทางกระทรวงพาณิชย์ และ ทางกรมสรรพากร ( แต่เนื่องจากเป็นกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ จึงได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้ และหากมีรายได้ในส่วนที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถีง 1.8 ล้านบาทต่อปี และยังไม่ได้เป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะไม่ต้องไม่ดำเนินการใดๆ กับทางกรมสรรพากร )
แต่หากกิจการเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ต่อมาได้ซื้อทรัพย์สิน แล้วนำทรัพย์สินออกให้เช่า ซึ่งการนำทรัพย์สินออกให้เช่า ก็ไม่ใช่ประเภทธุรกิจหลักของกิจการ ตามความเห็นส่วนตัว ผมมองว่าลักษณะดังกล่าวนี้ ไม่ถือเป็นสถานประกอบการครับ จึงไม่ต้องจดเพิ่มสาขาทั้งทางกระทรวงพาณิชย์ และ กรมสรรพากร แต่จะต้องระวังในเรื่องการเฉลี่ยภาษีซื้อนะครับ เพราะกิจการมีรายได้ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
www.rd.go.th/publish/3403.0.html">
http://www.rd.go.th/publish/3403.0.htmlการให้เช่าอาคาร และคิดค่าบริการ ก็จะเกี่ยวข้องกับ
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
2. ปกติอัตราค่าเสื่อมราคาอาคาร ก็จะคิดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี สามารถศึกษาเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527
www.rd.go.th/publish/2369.0.html">
http://www.rd.go.th/publish/2369.0.html